วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555






วิหารโบราณกึ่งตึกกึ่งไม้ ศิลปกรรมเชียงใหม่ จะสร้างมานานเพียงไหน ใครเป็นช่างไม่ปรากฏประวัติ เข้าใจกันว่ามหาอำมาตย์หมื่นเงินกองและภริยาลูกหลานเป็นผู้สร้างเป็นผู้
สร้างในรัชสมัยพระเจ้ากือนา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระครูศีลสังวรเจ้าอาวาสขณะนั้นพร้อมทั้งศรัทธาร่วมกันบูรณะ โดยมีนายสม ฤทธิปัญจะ นายคำแสน อุปวรรณ์ นายทอง สุภาราษฏร์ นายตั๋น แก้วมูล เป็นนายช่างใช้เวลาบูรณะ ๓ เดือน ก็แล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๓๒
พระครูมงคลสิริวงศ์เจ้าอาวาสพร้อมคณะกรรมการวัดได้ พิจารณาเห็นว่าวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมา ควรได้รับการบูรณะอย่างใหญ่หลวง วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เริ่มประกอบพิธีบูรณะปฏิสังขรณ์ มีนายดวงดี ฤทธิ์ปัญจะ นายบุญศรี ณ เชียงใหม่ นายสุรสิทธิ์ อินต๊ะวัง นายประสิทธิ์ เพียรผล นายหนิด จันหาญ พร้อมด้วยคณะ เป็นนายช่าง มีนางสมศรี วังทองคำ นางดวงรัตน์ โกเมศ ร.อ.อ.สุขุม สังคาลวณิชย์ นางเหรียญ-นางฉลวย สมบัติสูง นางจันทรา โพธิมาและคณะศรัทธาทุกคน อุปถัมภ์มีการยกช่อฟ้า วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕


วิหารพระนอน พระพุทธไสยาสน์ พระนอนเป็นพระพุทธรูปปั้นปางไสยาสน์ศิลปกรรมแบบล้านนาเชียงใหม่ประทับฐานบัว ภายในซุ้มนับได้ว่าเป็นพระพุทธโบราณล้ำค่าองค์หนึ่ง แต่ไม่พบหลักฐานประวัติความเป็นมา
ถัดจากวิหารพระนอนก็จะเป็นอูโบสถซึ่งก็เก่าและไม่มีประวัติบอกเล่า



วัดหมื่นเงินกอง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐ ถ.สามล้าน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นใน ด้านทิศตะวันตกใกล้แจ่งกู่เฮืองและประตูสวนดอก
วัดหมื่นเงินกอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนาหรือท้าวสองแสนนากษัตริย์นครพิงค์เชียงใหม่
กษัตริย์องค์ที่ ๖ เมื่อ จ.ศ.๗๐๑ - ๗๓๕ (พ.ศ. ๑๘๘๒ - ๑๙๑๖) 
หมื่นเงินกองเป็นชื่อของมหาอำมาตย์ ตำแหน่ง "ขุนคลัง" ท่านหนึ่งในรัชกาลพระเจ้ากือนา
โดยโปรดให้ไปอาราธนาพระสุมนะเถระชาวเมืองสุโขทัยมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนครพิงค์
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๓
มีเรื่องเล่ากันว่าผู้สร้างวัดหมื่นเงินกองเอาเงินมาจากไหนมากมาย 
ถึงสร้างวัดได้ มีการเล่าต่อๆกันมาว่ามหาอำมาตย์หมื่นเงินกองนั้น 
เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หลังจากลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส 
ก็ได้รับคำนำหน้าว่า "หนาน" ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "หนานเมธัง" มีภรรยาชื่อ "นางแก้ว" 
โดยมีที่อยู่ก็เป็นที่ตั้งของวัดหมื่นเงินกองในปัจจุบัน 
ในอดีตนั้นมีเหตุเกิดข้าวยากหมากแพงและเป็นช่วงฤดูฝน 
ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็มที่ เกิดความเดือดร้อนไปทั่วบ้านเมือง
หนานเมธังและนางแก้วจึงไปหาซื้อวัว หาซื้อข้าวสาร นอนค้างแรมไปเรื่อยๆตามทาง 
จนมีความร่ำรวย จนเมื่อเดินทางมาถึงวัดพระนอนข่อนม่วง 
ทั้งสองสามีภรรยาได้หยุดพักเพราะเป็นเวลาเที่ยงและอากาศร้อนมาก 
หนานเมธังจึงได้มัดวัวไว้แล้วให้นางแก้วดูแล 
ส่วนตัวหนานเมธังได้เข้าไปกราบพระพุทธไสยอาสน์ (พระนอน) เมื่อเวลาผ่านไปนาน 
นางแก้วเห็นสามียังไม่กลับออกมาจึงได้เข้าไปตาม 
ระหว่างนั้นวัวตัวหนึ่งได้หลุดออกเพราะเชือกขาด วัวตัวนั้นวิ่งไปขวิดตลิ่งจนพัง 
นางได้เล่าให้สามีฟัง สามีจึงได้คุกเข่าอธิฐานต่อเทวดาว่า 
"
หากสมบัติเหล่านี้เคยเป็นของตนเองในอดีตหรือปัจจุบันชาตินี้ก็ขอให้อยู่ อย่างเดิม 
แต่ถ้าไม่ใช่ก็ขอให้หายไปปรากฏว่าเงินทองทั้งหมดยังอยู่ครบ 
จึงได้นำมาบรรทุกหลังวัวทั้ง ๔ แล้วออกเดินทาง พอมาถึงบ่อน้ำที่ชื่อว่า "บ่อน้ำหมาเลีย" 
วัวตัวหนึ่งเกิดสะดุดก้อนหินหกล้มตาย ทั้งสองสามีภรรยาจึงได้นำสมบัติบรรทุกวัวทั้ง ๓ ตัว
แต่ไม่สามารถจะบรรทุกได้หมด จึงได้นำสมบัติเหล่านั้นฝังดินใกล้ๆน้ำบ่อ 
จากนั้นก็เดินทางกลับบ้าน 
พอถึงเวลาเข้านอนก็นอนไม่หลับจึงปรึกษาภรรยาว่าจะเอาเงินทองที่ได้มาไป 
สร้างวัดช่างลาน เรื่อยมาจนได้รับยศให้เป็นหมื่นเงินกอง 
แล้วสร้างวัดหมื่นเงินกองเพื่อเป็นอนุสรณ์เป็นที่เข้าใจกันว่า
มหาอำมาตย์ หมื่นเงินกองหรือทิดเมธัง ผู้สร้างวัดเมธังและวัดช่างลาน
เป็นผู้สร้างวัด "หมื่นเงินกอง" เพื่อเป็นอนุสรณ์ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ตนเองได้รับ ต่อมาชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "วัดมะยมกอง" บ้างแต่ก็มีชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า
"
วัดหมื่นเงินกอง" ตราบทุกวันนี้


จดีย์ภายในวัดเป็นสถาปัตยกรรมของเชียงใหม่ 
แบบของเจดีย์เป็นแบบผสมระหว่างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมศรีสัชนาลัยผสมระหว่าง 
เจดีย์ทรงกลมของเชียงใหม่เป็นทรงประสาทฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมสูง มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม
มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้านองค์ระฆังกลม
ซึ่งเจดีย์เดิมนั้นไม่ทราบว่าเป็นแบบไหน แต่ในปัจจุบันได้ครอบองค์เดิมเอาไว้ 
เมื่อประมาณปี ๒๕๓๔ ได้ถกูฟ้าผ่าครั้งหนึ่งแต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักที่พระธาตุเจดีย์ไม่มี 
อะไรเสียหายชำรุดเลย ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์นี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้ว